วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ระบบเศรษฐกิจ : ลักษณะการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคม เพื่อบรรลุจุดสูงสุดทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกได้ 4 ระบบ (ขยายความให้ จริงๆในหนังสือก็ clear แล้ว)
1.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capital) เป็นระบบที่ปัจจัยและการลงทุนเป็นกรรมสิทธิของเอกชนผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา : USA
2.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialist) เอกชนมีสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค : สวีเดน ลาว
3.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการ ผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ : รัสเซีย เกาหลีเหนือ คิวบา
4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยมและสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง : ไทย

สหกรณ์  : องค์กรอิสระของบุคคลที่มีรวมกันอย่างสมัครใจ เพื่อดำเนินการค้าโดยไม่แสวงผลกำไร
บิดาแห่งการสหกรณ์ : โรเบิร์ต โอเวน : จุดประกายการทำสหกรณ์(เขาทำเองไม่สำเร็จ)
สหกรณ์ไทย : กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ จัดตั้ง “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” พิษณุโลก
ธุรกิจแบบสหกรณ์ : รวมคน สำคัญยิ่งกว่า รวมทุน
คติของสหกรณ์ : สมาชิกแต่ละคนเพื่อสมาชิกทั้งหมด สมาชิกทั้งหมดเพื่อสมาชิกแต่ละคน
-มุ่งช่วยเหลือสมาชิกให้พ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
-ไม่หวังผลกำไร ให้ผลตอบแทนในอัตราที่ต่ำ สมาชิกมักจะไม่ซื้อหุ้นไว้มาก




เศรษฐกิจพอเพียง  :
พระราชทานเมื่อ 4 ธันวาคม 2540
พอเพียง หมายถึง พอมีพอกิน
Self-Sufficiency : ผลิตพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น (ยืนบนขาของตัวเอง)


เกษตรทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1.     มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2.     มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
3.     มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้
*เพาะปลูก+ประมง+เลี้ยงสัตว์
ส่วนแรก 30 ขุดสระกักเก็บน้ำ  -1,000 ลบ.ม. ต่อ การเพาะปลูก 1 ไร่
ส่วนที่ 2 30 ทำนาข้าว
ส่วนที่ 3 30 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร
ส่วนที่ 4 10 เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ
โจทย์ : ตาแช่มมีที่ดินทั้งหมด 50 ไร่ ใช้ประโยชน์ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้งหมด ตาแช่มจะขุดบ่อปลา ควรมีความลึกเท่าไหร่ (บ่อกว้าง 50 เมตร ยาว 60 เมตร)
ตอบ ลึก 10 เมตร

****** การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
NI: รายได้ประชาชาติ
GNP: ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
GDP: ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
รายได้ต่อบุคคล : รายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชากร
รายได้ประชาชาติที่แท้จริง : หารายได้ประชาชาติที่ถูกต้องใกล้เคียงมากที่สุด
NI: National Income : มูลค่ารวมของสินค้าบริการขั้นสุดท้าย1 ที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1 ปี3โดยหักค่าเสื่อมราคาของทรัพยากรและภาษีทางอ้อม4 (ทำให้ทราบว่าแต่ละปีประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้นสุทธิเป็นจำนวนเท่าใด)
*รายได้โอนไม่นับรวมใน NI; ค่าปรับ มรดก บำนาญ เงินผิดกฎหมาย เงินบริจาค
Gross Domestic Product : GDP  ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น  GDP  ของไทย คือ มูลค่าผลผลิตที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศผลิตขึ้นได้ในประเทศ
! GDP ไม่สะท้อนความมั่งคั่งของประเทศเพราะไม่รวมรายได้จากการใช้ทรัพยากรของไทยในประเทศอื่น
Gross National ProductGNP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
มูลค่าตามราคาตลาด (Market Price) ในปัจจุบันของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น GNP ของไทย คือผลรวมมูลค่าผลผลิต ที่คนไทยผลิตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ ราคาตลาดในปีนั้นๆ
Real GNP รายได้ประชาชาติที่แท้จริง
Real GNP         =          GNP  *   100
                               ดัชนีราคาปีเดียวกัน
Ex. รายได้ประชาชาติตามราคาปี 2549 30,000 ล้านบาท ดัชนีราคาปี 2549 = 120
Real GNP = 30,000 * 100 /120 =  25,000  ล้านบาท
โจทย์
ปี 52 ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้มีมูลค่า 500,000 ล้านบาท ชาวต่างชาติในไทยสร้างรายได้ 25,000 ล้านบาท ชาวไทยในต่างประเทศสร้างรายได้ 10,000 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาและภาษีทางอ้อมปี 52 เป็น 5,000 ล้านบาท มีรายได้โอนสุทธิ 1,000 ล้านบาท ดัชนีราคาในปีนั้นเป็น 120 จึงอยากทราบรายได้ประชาชาติและรายได้ประชาชาติที่แท้จริง
หา GNP ก่อนโดย 500,000-25,000 + 10,000 = 485,000
หา NI  GNP-ค่าเสื่อมราคา 485,000-5,000 = 480,000 ล้านบาท
หา RNI 480,000*100 / 120 = 400,000 ล้านบาท
2.รายได้ประชาชาติในปี 2552 หลังหักค่าเสื่อมราคามีมูลค่า 600,000 ล้านบาท โดยยังไม่นับรวมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย 100 ล้านบาท เก็บภาษีทางอ้อมได้ได้ 100,000 ล้านบาท และดัชนีราคาสูงขึ้น 25% อยากทราบ RNI : ตอบ 400,000 ล้านบาท
ศัพท์ที่ต้องทราบ (เลือกมาเฉพาะเด่นๆ)
ค่าแรงขั้นต่ำ : อัตราค่าจ้างแรงงานที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด Update 1/1/54 ภูเก็ตขึ้นสูงสุด 17 บาท พะเยาต่ำสุด 8 บาท กทม.+ปริมณฑลขึ้น 9 บาท จาก 206 เป็น 215 บาท
ผลกระทบจากการกำหนดค่าแรงขึ้นต่ำ : อุปทานสินค้ามีแนวโน้มลดลง อุปทานแรงงานมากขึ้น อุปสงค์แรงงานลดลง
การประกันราคา :  รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าขั้นต่ำเพื่อช่วยผู้ผลิต และ กำหนดราคาขึ้นสูงเพื่อช่วยผู้บริโภค ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ปัญหาราคาข้าวตก ปัญหาราคาน้ำตาลแพง ที่สำคัญคือ ปัญหาราคาน้ำมัน
ค่าเสียโอกาส : การที่เราทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ไม่เป็นไปตามคาด/ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้เสียรายได้ เช่น ทำสัญญาขายรถ แล้วคู่สัญญาไม่สามารถซื้อตามที่ตกลงไว้ได้ ทำให้ต้องไปขายให้คนอื่นแล้วราคานั้นก็ต่ำกว่าที่จะขายให้คนแรก ส่วนต่างนี้เรียกว่า ค่าเสียโอกาส
มาตรฐานการครองชีพ : ระดับความกินดีอยู่ดีของมนุษย์(การอุปโภค บริโภคดี)
ค่าครองชีพ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน
สินค้าบริการขั้นสุดท้าย : สินค้าที่ขายแล้วนำไปบริโภคทันที (เป็นปลายทางการกระจายสินค้าแล้ว)




บทนี้น่าจะออกอัตนัย

การบริโภค  การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์
1.การบริโภคที่สิ้นเปลือง หมดไป : อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
2.การบริโภคที่ไม่สิ้นเปลือง : ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ; เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ
ปัจจัยที่ควบคุม : มีสินค้าให้บริโภคหรือไม่ , รายได้ของผู้บริโภค , ความรู้ความสามารถของผู้บริโภค(การนำมาใช้ประโยชน์)
การกระจาย การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าออกไปยังผู้บริโภค
1.กระจายสินค้า : กระจายการผลิตและผลผลิต
2.กระจายรายได้ : กระจายผลตอบแทนจากการผลิตและผลผลิต
ปัจจัยที่ควบคุม : สภาพภูมิศาสตร์ ความรู้ความสามารถของผู้กระจาย อุปสงค์อุปทานในภูมิภาค
การแลกเปลี่ยน
1.การแลกเปลี่ยนโดยตรง(การค้าต่างตอบแทน) Bather System : การนำเอาผลผลิตมาแลกเปลี่ยนกัน
2.ใช้เงินเป็นสื่อกลาง Money System : ใช้เงินซื้อขาย
3.ใช้สินเชื่อ บัตรเครดิต Credit System : สถาบันการเงินวางใจที่จะออกเงินให้ก่อน แล้วค่อยมาผ่อน
*การค้าแบบหักบัญชี Account Trade : ผสมผสาน 3 แบบเข้าด้วยกัน โดยการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่าง 2 ฝ่ายและบันทึกเอาไว้ พอครบรอบที่กำหนด ก็มาดูส่วนต่าง และจ่ายส่วนต่างให้อีกฝ่าย
ตลาด: (ผู้ซื้อ+ผู้ขาย+สินค้า) ที่ๆผู้ซื้อและผู้ขายใช้ตกลงแลกเปลี่ยนกัน
1.ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีผู้ขายจำนวนมากราย มีสินค้าที่คล้ายๆกัน คุณภาพใกล้เคียงกันให้ได้เลือกซื้อ ใช้กลไกตลาดอย่างเต็มที่ ; ไม่มีอยู่จริง ที่ใกล้เคียงถือว่าเป็น คือ ตลาดพืชผลทางการเกษตร ตลาดหลักทรัพย์
2.ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ :          ผูกขาด ; เนื่องมาจากสัมปทาน กฎหมายคุ้มครอง (ไฟฟ้า ประปา)
                                                กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ; สร้างความพอใจให้ลูกค้าไม่เท่ากัน
                                                ผู้ขายน้อยราย ; ต้องลงทุนมาก มีการผลิตมาก (เครือข่ายมือถือ)
วงจรเศรษฐกิจ อ่านในเล่ม 

***อุปสงค์-อุปทาน
การผลิตสินค้าและบริการ จะผลิตมากน้อยเพียงใด มีตัวควบคุมปริมาณการผลิต(อุปทาน)อยู่ คือ
1.ปริมาณของวัตถุดิบ
2.ความต้องการของผู้บริโภค (อุปสงค์)
3.ราคาของผลผลิต

อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้าชนิดนั้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยสมมุติให้ปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดอุปสงค์คงที่ ความต้องการในที่นี้ต้องมีอำนาจซื้อ ด้วย ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีแต่ความต้องการในตัวสินค้าโดยไม่มีเงินที่จะจ่ายซื้อ เราเรียกความต้องการลักษณะนั้นว่า ความต้องการไม่ใช่ อุปสงค์)  
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) : อุปสงค์แปรผกผันกับราคา 
อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณความต้องการที่ผู้ผลิตเต็มใจนำออกเสนอขายในตลาดภายในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันของสินค้านั้นโดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆที่กำหนดอุปทานคงที่  
 กฎของอุปทาน (Law of Supply) อุปทานแปรผันตรงกับราคา
ราคาดุลยภาพ : ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อและผู้ผลิตพอใจที่จะขาย
ปริมาณดุลยภาพ : ปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการและปริมาณที่ผลิตออกมาเท่ากัน คือไม่มีสินค้าขาดเกิน
อ่านผ่านๆ
การบริโภค  การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์
1.การบริโภคที่สิ้นเปลือง หมดไป : อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
2.การบริโภคที่ไม่สิ้นเปลือง : ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ; เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ
ปัจจัยที่ควบคุม : มีสินค้าให้บริโภคหรือไม่ , รายได้ของผู้บริโภค , ความรู้ความสามารถของผู้บริโภค(การนำมาใช้ประโยชน์)
การกระจาย การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าออกไปยังผู้บริโภค
1.กระจายสินค้า : กระจายการผลิตและผลผลิต
2.กระจายรายได้ : กระจายผลตอบแทนจากการผลิตและผลผลิต
ปัจจัยที่ควบคุม : สภาพภูมิศาสตร์ ความรู้ความสามารถของผู้กระจาย อุปสงค์อุปทานในภูมิภาค

***กระบวนการทางเศรษฐกิจ (อ่านเยอะๆ)
ประกอบด้วย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ วงจรเศรษฐกิจ และ การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
หมายถึง การกระทำของมนุษย์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด
การผลิต -- การกระจาย – การแลกเปลี่ยน สู่ การบริโภค
การผลิต : การสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ / การสร้างอรรถประโยชน์เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1.ขั้นต้น(ปฐมภูมิ) : การผลิตแบบดั้งเดิม ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยาก; เกษตรกรรม ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ (ลงทุนต่ำ ลงแรงสูง ผลตอบแทนต่ำ)
2.ขั้นแปรรูป(ทุติยภูมิ) : การนำผลผลิตขั้นปฐมมาดัดแปลงเป็นผลผลิตใหม่ หรือเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น สับปะรดกระป๋อง ทอเป็นผ้า อุตสาหกรรมต่างๆ (ลงทุนสูง ลงแรงสูง ผลตอบแทนสูง)
3.ขั้นบริการ(ตติยภูมิ) : การนำผลผลิตขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิส่งไปถึงมือผู้บริโภคอย่างสะดวก ตลอดจนการให้บริการและการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าอื่นๆ เช่น งานราชการ การค้าส่ง-ปลีก งานทนายความ การบรรจุหีบห่อ (ลงทุนต่ำ ลงแรงต่ำ ผลตอบแทนสูง)
อรรถประโยชน์ (ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ) (เรื่องนี้ออกแน่เลยยกตัวอย่างเยอะหน่อย จะได้ชัวร์ๆ)
*ประโยชน์จากการเปลี่ยนรูป : การแปรรูปวัตถุดิบออกมาเป็นสิ่งต่างๆ; แปรรูปไม้เป็นโต๊ะ นำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร สกัดถั่วเหลืองเป็นน้ำมัน
ประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานที่ : นำทรัพยากรจากที่หนึ่งขึ้นมาใช้ประโยชน์; หอยมุก แก๊สธรรมชาติ
*ประโยชน์เกิดจากเวลา : การคงสภาพของให้นานเพื่อรักษาราคา (แช่แข็ง แช่น้ำให้สด) การถนอมสิ่งที่ทานได้ตามฤดูกาลเท่านั้นไว้ (ผลไม้กระป๋อง), หมักสุราเป็นเวลานาน และรวมถึงการผลิตออกมาเป็นรายแรก
ประโยชน์จากการเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ : เสื้อผ้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใส่มากกว่าผู้ตัดเย็บ, สินค้าบางชนิดจะมีการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หลายทอดกว่าจะถึงผู้บริโภคคือกรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนจากผู้ผลิตไปยังพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก จนถึงผู้บริโภค หรือผู้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายสินค้า เช่น รถยนต์ บ้าน ที่ดิน
ประโยชน์จากการให้บริการ : ผู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์จากการให้บริการเช่น บริการการขนส่ง ทนายความ แพทย์ การประกันภัย
สินค้าหรือทรัพย์ : สิ่งที่สนองความต้องการของมนุษย์ในทางเศรษฐศาสตร์
1.ทรัพย์เสรี : สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา และ มีมากกว่าความต้องการ ทำให้ไร้ราคา
2.เศรษฐทรัพย์ : สิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้น สร้างขึ้น ต้องมีการซื้อหา แลกเปลี่ยนกัน เช่น ปัจจัย 4
ปัจจัยการผลิต
ที่ดิน : แหล่งผลิตหรือสถานที่ทำการผลิต รวมถึงทรัพยากรที่อยู่ภายในผิวพื้นที่ดินนั้น; ที่ดินในการเพาะปลูกรวมถึงแร่ธาตุในผิวดิน สิ่งแวดล้อมต่างๆในที่ดิน, แร่ในเหมืองแร่ ผลตอบแทนคือ ค่าเช่า
ทุน :   สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ หรือเงินทุนที่ใช้ในการซื้อหาปัจจัยการผลิตอื่นๆ อาคาร โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือขนาดใหญ่ ผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
แรงงาน :  การทำงานทุกชนิดของมนุษย์ทั้งที่ใช้แรงงาน กำลังความคิด ความสามารถ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง ค่าแรง
ผู้ประกอบการ  : บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งองค์การผลิตขึ้นเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งความสามารถในการดำเนินการวางแผน โดยรวบรวมปัจจัยการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน มาประกอบกันเพื่อการผลิต โดยเป็นผู้รับความเสี่ยงต่อผลได้หรือผลเสียที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น ผลตอบแทนคือ กำไร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร(ที่มีอย่างจำกัด)เพื่อนำมาสนองความต้องการของมนุษย์(ที่มีไม่จำกัด) โดยให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
ECONOMICS มี รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ “Oikos” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “House” และ “ Nemein ” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “ To mange ” ดังนั้นความหมายของวิชา เศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัว
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ ผู้เขียนหนังสือ "ความมั่งคั่งของประชาชาติ" (The Wealth of Nations)
-เปรียบกลไกการตลาดเปรียบเสมือน "มือที่มองไม่เห็น"(Invisible Hand)
ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.ระดับชาติ : ใช้ทรัพยากรให้เกิดผลสูงสุด ให้คนในชาติกินดีอยู่ดี
2.ระดับบุคคล : เกี่ยวกับการเลือกติดสินใจที่จะใช้ทรัพยากรหือปัจจัยการผลิต เพื่อบำบัดความต้องการของตนได้ดีที่สุด เช่น เลือกที่จะขึ้น BTS แทนรถเมล์ เลือกที่จะไป Central แทน Paragon แต่! เลือกที่จะทำข้อสอบด้านหลังก่อน ไม่ถือว่าเป็นการเลือก เพราะ ต้องทำทั้งหมดอยู่ดี
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
What                ผลิตอะไร
How                ด้วยวิธีใด
For whom         เพื่อใคร   
สาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์
1.เศรษฐศาสตร์จุลภาค : หน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจ (องค์ประกอบต่างๆภายในระบบ)
2.เศรษฐศาสตร์มหภาค : หน่วยรวมของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศ (เกิดผลต่อระบบในส่วนใหญ่)
*รัฐบาลประกาศช่วยเหลือหนี้นอกระบบทั้งประเทศโดยมอบหมายให้ธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการ : เป็นจุลภาคเพราะรับผิดชอบโดยสถาบันการเงินเพียงสองแห่ง