วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


****** การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
NI: รายได้ประชาชาติ
GNP: ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
GDP: ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
รายได้ต่อบุคคล : รายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชากร
รายได้ประชาชาติที่แท้จริง : หารายได้ประชาชาติที่ถูกต้องใกล้เคียงมากที่สุด
NI: National Income : มูลค่ารวมของสินค้าบริการขั้นสุดท้าย1 ที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1 ปี3โดยหักค่าเสื่อมราคาของทรัพยากรและภาษีทางอ้อม4 (ทำให้ทราบว่าแต่ละปีประเทศหนึ่งสามารถผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้นสุทธิเป็นจำนวนเท่าใด)
*รายได้โอนไม่นับรวมใน NI; ค่าปรับ มรดก บำนาญ เงินผิดกฎหมาย เงินบริจาค
Gross Domestic Product : GDP  ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น
มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น  GDP  ของไทย คือ มูลค่าผลผลิตที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศผลิตขึ้นได้ในประเทศ
! GDP ไม่สะท้อนความมั่งคั่งของประเทศเพราะไม่รวมรายได้จากการใช้ทรัพยากรของไทยในประเทศอื่น
Gross National ProductGNP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
มูลค่าตามราคาตลาด (Market Price) ในปัจจุบันของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น GNP ของไทย คือผลรวมมูลค่าผลผลิต ที่คนไทยผลิตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ ราคาตลาดในปีนั้นๆ
Real GNP รายได้ประชาชาติที่แท้จริง
Real GNP         =          GNP  *   100
                               ดัชนีราคาปีเดียวกัน
Ex. รายได้ประชาชาติตามราคาปี 2549 30,000 ล้านบาท ดัชนีราคาปี 2549 = 120
Real GNP = 30,000 * 100 /120 =  25,000  ล้านบาท
โจทย์
ปี 52 ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้มีมูลค่า 500,000 ล้านบาท ชาวต่างชาติในไทยสร้างรายได้ 25,000 ล้านบาท ชาวไทยในต่างประเทศสร้างรายได้ 10,000 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาและภาษีทางอ้อมปี 52 เป็น 5,000 ล้านบาท มีรายได้โอนสุทธิ 1,000 ล้านบาท ดัชนีราคาในปีนั้นเป็น 120 จึงอยากทราบรายได้ประชาชาติและรายได้ประชาชาติที่แท้จริง
หา GNP ก่อนโดย 500,000-25,000 + 10,000 = 485,000
หา NI  GNP-ค่าเสื่อมราคา 485,000-5,000 = 480,000 ล้านบาท
หา RNI 480,000*100 / 120 = 400,000 ล้านบาท
2.รายได้ประชาชาติในปี 2552 หลังหักค่าเสื่อมราคามีมูลค่า 600,000 ล้านบาท โดยยังไม่นับรวมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย 100 ล้านบาท เก็บภาษีทางอ้อมได้ได้ 100,000 ล้านบาท และดัชนีราคาสูงขึ้น 25% อยากทราบ RNI : ตอบ 400,000 ล้านบาท
ศัพท์ที่ต้องทราบ (เลือกมาเฉพาะเด่นๆ)
ค่าแรงขั้นต่ำ : อัตราค่าจ้างแรงงานที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด Update 1/1/54 ภูเก็ตขึ้นสูงสุด 17 บาท พะเยาต่ำสุด 8 บาท กทม.+ปริมณฑลขึ้น 9 บาท จาก 206 เป็น 215 บาท
ผลกระทบจากการกำหนดค่าแรงขึ้นต่ำ : อุปทานสินค้ามีแนวโน้มลดลง อุปทานแรงงานมากขึ้น อุปสงค์แรงงานลดลง
การประกันราคา :  รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าขั้นต่ำเพื่อช่วยผู้ผลิต และ กำหนดราคาขึ้นสูงเพื่อช่วยผู้บริโภค ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ปัญหาราคาข้าวตก ปัญหาราคาน้ำตาลแพง ที่สำคัญคือ ปัญหาราคาน้ำมัน
ค่าเสียโอกาส : การที่เราทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ไม่เป็นไปตามคาด/ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้เสียรายได้ เช่น ทำสัญญาขายรถ แล้วคู่สัญญาไม่สามารถซื้อตามที่ตกลงไว้ได้ ทำให้ต้องไปขายให้คนอื่นแล้วราคานั้นก็ต่ำกว่าที่จะขายให้คนแรก ส่วนต่างนี้เรียกว่า ค่าเสียโอกาส
มาตรฐานการครองชีพ : ระดับความกินดีอยู่ดีของมนุษย์(การอุปโภค บริโภคดี)
ค่าครองชีพ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน
สินค้าบริการขั้นสุดท้าย : สินค้าที่ขายแล้วนำไปบริโภคทันที (เป็นปลายทางการกระจายสินค้าแล้ว)




บทนี้น่าจะออกอัตนัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น