***อุปสงค์-อุปทาน
การผลิตสินค้าและบริการ จะผลิตมากน้อยเพียงใด
มีตัวควบคุมปริมาณการผลิต(อุปทาน)อยู่ คือ
1.ปริมาณของวัตถุดิบ
2.ความต้องการของผู้บริโภค (อุปสงค์)
3.ราคาของผลผลิต
อุปสงค์
(Demand) หมายถึง
ปริมาณความต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ
ของสินค้าชนิดนั้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยสมมุติให้ปัจจัยอื่นๆ
ที่กำหนดอุปสงค์คงที่ ความต้องการในที่นี้ต้องมีอำนาจซื้อ ด้วย
ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีแต่ความต้องการในตัวสินค้าโดยไม่มีเงินที่จะจ่ายซื้อ
เราเรียกความต้องการลักษณะนั้นว่า “ความต้องการ” ไม่ใช่ “อุปสงค์)”
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) : อุปสงค์แปรผกผันกับราคา
อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณความต้องการที่ผู้ผลิตเต็มใจนำออกเสนอขายในตลาดภายในระยะเวลาหนึ่ง
ณ ระดับราคาต่างๆ กันของสินค้านั้นโดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆที่กำหนดอุปทานคงที่
กฎของอุปทาน (Law
of Supply) อุปทานแปรผันตรงกับราคา
ราคาดุลยภาพ : ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อและผู้ผลิตพอใจที่จะขาย
ปริมาณดุลยภาพ : ปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการและปริมาณที่ผลิตออกมาเท่ากัน
คือไม่มีสินค้าขาดเกิน
การบริโภค การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์
1.การบริโภคที่สิ้นเปลือง หมดไป : อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
2.การบริโภคที่ไม่สิ้นเปลือง : ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ; เสื้อผ้า
ของใช้ต่างๆ
ปัจจัยที่ควบคุม : มีสินค้าให้บริโภคหรือไม่ , รายได้ของผู้บริโภค ,
ความรู้ความสามารถของผู้บริโภค(การนำมาใช้ประโยชน์)
การกระจาย การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าออกไปยังผู้บริโภค
1.กระจายสินค้า : กระจายการผลิตและผลผลิต
2.กระจายรายได้ : กระจายผลตอบแทนจากการผลิตและผลผลิต
ปัจจัยที่ควบคุม : สภาพภูมิศาสตร์ ความรู้ความสามารถของผู้กระจาย
อุปสงค์อุปทานในภูมิภาค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น