วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ระบบเศรษฐกิจ : ลักษณะการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคม เพื่อบรรลุจุดสูงสุดทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกได้ 4 ระบบ (ขยายความให้ จริงๆในหนังสือก็ clear แล้ว)
1.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capital) เป็นระบบที่ปัจจัยและการลงทุนเป็นกรรมสิทธิของเอกชนผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา : USA
2.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialist) เอกชนมีสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค : สวีเดน ลาว
3.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการ ผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ : รัสเซีย เกาหลีเหนือ คิวบา
4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยมและสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง : ไทย

สหกรณ์  : องค์กรอิสระของบุคคลที่มีรวมกันอย่างสมัครใจ เพื่อดำเนินการค้าโดยไม่แสวงผลกำไร
บิดาแห่งการสหกรณ์ : โรเบิร์ต โอเวน : จุดประกายการทำสหกรณ์(เขาทำเองไม่สำเร็จ)
สหกรณ์ไทย : กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ จัดตั้ง “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” พิษณุโลก
ธุรกิจแบบสหกรณ์ : รวมคน สำคัญยิ่งกว่า รวมทุน
คติของสหกรณ์ : สมาชิกแต่ละคนเพื่อสมาชิกทั้งหมด สมาชิกทั้งหมดเพื่อสมาชิกแต่ละคน
-มุ่งช่วยเหลือสมาชิกให้พ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ
-ไม่หวังผลกำไร ให้ผลตอบแทนในอัตราที่ต่ำ สมาชิกมักจะไม่ซื้อหุ้นไว้มาก




เศรษฐกิจพอเพียง  :
พระราชทานเมื่อ 4 ธันวาคม 2540
พอเพียง หมายถึง พอมีพอกิน
Self-Sufficiency : ผลิตพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น (ยืนบนขาของตัวเอง)


เกษตรทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1.     มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2.     มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
3.     มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้
*เพาะปลูก+ประมง+เลี้ยงสัตว์
ส่วนแรก 30 ขุดสระกักเก็บน้ำ  -1,000 ลบ.ม. ต่อ การเพาะปลูก 1 ไร่
ส่วนที่ 2 30 ทำนาข้าว
ส่วนที่ 3 30 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร
ส่วนที่ 4 10 เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ
โจทย์ : ตาแช่มมีที่ดินทั้งหมด 50 ไร่ ใช้ประโยชน์ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้งหมด ตาแช่มจะขุดบ่อปลา ควรมีความลึกเท่าไหร่ (บ่อกว้าง 50 เมตร ยาว 60 เมตร)
ตอบ ลึก 10 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น